เมนู

[1522] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทาง
แน่นอน หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระโพธิสัตว์ ไม่เป็นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมใน
ชาตินั้นหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ก็ย่อมก้าวลงสู่ทาง
แน่นอน น่ะสิ.
นิยตัสสนิยามกถา จบ

อรรถกถานิยตัสส นิยามกถา



ว่าด้วย นิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว. ในเรื่องนั้น นิยาม
คือความแน่นอน มี 2 คือ อนันตริยกรรม ชื่อว่า มิจฉัตตนิยาม และอริย-
มรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เว้นนิยาม 2 นี้แล้ว ธรรมอื่นชื่อว่านิยาม
ย่อมไม่มี. จริงอยู่ เตภูมิกธรรม คือธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 ที่เหลือแม้
ทั้งปวงชื่อว่า อนิยตธรรม คือธรรมอันไม่แน่นอน แม้แต่ธรรมที่ประกอบ
ด้วยเตภูมิกธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นอนิยตธรรมทั้งสิ้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่พยากรณ์การก้าวลงสู่นิยามธรรมด้วยคำว่า สัตว์นี้จักบรรลุ
โพธิญาณในอนาคตกาล
ด้วยกำลังแห่งพระองค์ แต่พระโพธิสัตว์ท่าน
เรียกว่า นิยตบุคคล เพราะความเป็นผู้มีบุญมาก. ชนเหล่าใด มีความ
เห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะและอปรเสลิยะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์

ย่อมก้าวลงสู่นิยาม ดังนี้ เพราะประสงค์เอาคำว่า พระโพธิสัตว์ผู้เกิด
ในภพสุดท้ายเป็นผู้สามารถเพื่อจะตรัสรู้ในชาตินั้น โดยถือเอาโวหาร
นี้ด้วยประการฉะนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง
เป็นของปรวาที.
คำว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ เป็นต้น สกวาทีกล่าว
เพื่อแสดงความเป็นนิยามอย่างหนึ่งของผู้เที่ยงแล้วโดยนิยามอย่างหนึ่ง.
คำว่า ยังมรรคให้เกิดก่อน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงประเภท
แห่งนิยาม. คำว่า บุคคลยังสติปัฏฐาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดง
ประเภทแห่งธรรมในนิยามแม้อย่างเดียว. คำว่า พระโพธิสัตว์ไม่เป็น
ผู้ควร
เป็นต้น ท่านแสดงความที่พระโพธิสัตว์เป็นสามารถตรัสรู้
อย่างเดียว มิใช่แสดงการก้าวลงสู่นิยามของนิยตบุคคล เพราะฉะนั้น
คำนี้จึงมิได้สำเร็จประโยชน์. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้ไม่แน่นอน
ด้วยนิยตธรรมอย่างหนึ่งในปางก่อนมาแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ก้าว
ลงสู่สัมมัตตนิยามแล้วด้วยการเห็นสัจจะที่โคนไม้โพธิ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถานิยตัสสนิยามกถา จบ

นีวุตตกถา



[1523] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้มีจิต
อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็นผู้
มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลสหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ
ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะ เป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ
ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอัน
เป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ